เมนู

ก็เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นนั้น บุรุษชื่ออิสิทัตตะจะได้รู้แม้คติของ
บุรุษชื่อปุราณะก็หามิได้ ดูก่อนอานนท์ คนทั้งสองนี้เลวกว่ากันด้วย
องค์คุณคนละอย่าง ด้วยประการฉะนี้.
จบมิคสาลาสูตรที่ 5

อรรถกถามิคสาลาสูตรที่ 5


คำใดจะพึงกล่าวก่อนในเบื้องต้นแห่งสูตรที่ 5 คำนั้น ก็กล่าวไว้
แล้วในฉักกนิบาต. ก็ในคำว่า ทุสฺลีโล โหติ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัย
ดังนี้.
บทว่า ทุสฺลีโล ได้แก่ เป็นผู้ไม่มีศีล. บทว่า เจโตวิมุตฺตึ ได้แก่
ผลสมาธิ. บทว่า ปุญฺญาวิมุตฺต ได้แก่ ผลญาณ. บทว่า ปนฺปชานาติ
ได้แก่ ไม่รู้โดยการเรียนและการสอบถาม. ในคำว่า ทุสฺสีลฺยํ อปริเสสํ
นิรุชฺฌติ
นี้ ความทุศีล 5 อย่าง โสดาปัตติมรรคละได้ก่อน ความทุศีล
10 อย่าง พระอรหัตมรรคละได้ ในขณะผลจิต [คืออรหัตผล] ความทุศีล
เหล่านั้น เป็นอัน ชื่อว่ามรรคละได้แล้ว. ทรงหมายถึงขณะแห่งผลาจิต
ในสูตรนี้ จึงตรัสว่า นิรุชฺฌติ ก็ศีลของปุถุชนย่อมขาดด้วยเหตุ 5
ประการ คือ ต้องอาบัติปาราชิก ลาสิกขา เข้ารีดเดียรถีย์ บรรลุ
พระอรหัต ตาย. ในเหตุ 5 ประการนั้น เหตุ 3 ประการข้างต้น เป็นไป
เพื่อความเสื่อม ประการที่ 4 เป็นไปเพื่อความเจริญ ประการที่ 5
ไม่เป็นไปเพื่อเสื่อมหรือเพื่อเจริญ. ถามว่า ก็ศีลนี้ขาดเพราะบรรลุพระ-
อรหัตอย่างไร. ตอบว่า เพราะว่าศีลของปุถุชนเป็นกุศลกรรมส่วนเดียว

เท่านั้น ส่วนพระอรหัตมรรค เป็นรูปเพื่อสิ้นกุศลกรรมและอกุศลกรรม
ศีลขาดเพราะบรรลุพระอรหัตอย่างนี้.
บทว่า สวเนนปิ อกตํ โหติ ความว่า ข้อที่ควรฟังก็เป็นอันไม่ได้
ฟัง. ในบทว่า พาหุสจฺเจนปิ อกตํ โหติ นี้ ความว่า ข้อที่ควรทำ
ด้วยความเพียร ก็เป็นอันไม่ได้ทำ เพราะไม่ได้ทำความเพียรนั้น จึงเสื่อม
จากสวรรค์บ้าง จากมรรคบ้าง. บทว่า ทิฏฺฐิยาป อปฺปฏิวิทฺธํ โหติ
ความว่า ข้อที่พึงแทงตลอดด้วยทิฏฐิความเห็น ก็เป็นอันไม่แทงให้ตลอด
ไม่กระทำให้ประจักษ์. บทว่า สามายิกํ วิมุตฺตึ น ลภติ ความว่า อาศัย
การฟังธรรมตามกาลสมควรแก่กาล ย่อมไม่ได้ปีติเพราะปราโมทย์. บทว่า
หานาย ปเรติ ความว่า ย่อมถึงความเสื่อม. บทว่า ยถาภูตํ ปชานาติ
ความว่า บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว ย่อมรู้โดยการเรียนและสอบถามว่า
ความทุศีล 5 อย่าง ย่อมดับไม่มีส่วนเหลือ.
บทว่า ตสฺส สวเนนปิ กตํ โหติ ความว่า ข้อที่ควรฟัง ก็เป็น
อันได้ฟัง. บทว่า พาหุสจฺเจนปิ กตํ โหติ ความว่า กิจที่ควรทำด้วย
ความเพียร โดยที่สุด แม้เพียงวิปัสสนาที่ไม่กำลัง ก็เป็นอันได้กระทำ.
บทว่า ทิฏฺฐิยาปิ สุปฺปฏิวิทฺธํ โหติ ความว่า การแทงตลอดปัจจัย โดย
ที่สุดแม้ด้วยโลกิยปัญญา ก็เป็นอันได้ทำ. จริงอยู่ ปัญญาของบุคคลผู้นี้
ย่อมชำระศีล เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษ ด้วยศีลที่ปัญญาชำระแล้ว. บทว่า
ปมาณิกา ได้แก่ ถือเอาจำนวนในบุคคลทั้งหลาย. บทว่า ปมินนฺติ ได้
แก่ ควรนับชั่ง. บทว่า เอโก หีโน ได้แก่ เสื่อมจากคุณทั้งหลายผู้เดียว.
บทว่า ปณีโต ได้แก่ สูงสุดด้วยคุณทั้งหลายผู้เดียว. บทว่า ตํ หิ ได้แก่

ทำการนับนั้น. บทว่า อภิกฺกนฺตตโร แปลว่า ดีกว่า. บทว่า ปณีตตโร
แปลว่า สูงสุดกว่า.
บทว่า ธมฺมโสโต นิพฺพหติ ความว่า วิปัสสนาญาณที่ดำเนินไป
กล้าแข็ง ย่อมชักพา คือให้บรรลุอริยภูมิ. บทว่า ตทนนฺตรํ โก ชาเนยฺย
ความว่า ใครจะพึงรู้เหตุนั้น ๆ. บทว่า สีลวา โหติ ได้แก่ ย่อมมีศีล
ด้วยโลกิยศีล. บทว่า ยตฺถสฺส ตํ สีลํ ความว่า ถึงวิมุตติในพระอรหัต
แล้ว ศีลก็ชื่อว่าดับไม่เหลือเลย. ข้อยุติในศีลนั้น ก็กล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.
ในองค์ทั้งสองนอกจากนี้ อนาคามิผล ชื่อว่าวิมุตติ.
ในสูตรที่ 5 ก็ตรัสพระอรหัตอย่างเดียว. คำที่เหลือในสูตรที่ 5
นั้น ก็พึงทราบตามแนวแห่งนัยที่กล่าวแล้ว.
จบอรรถกถามิคสาลาสูตรที่ 5

6. อภัพพสูตร


ว่าด้วยธรรม 3 ประการมีอยู่ในโลก พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จึงบังเกิดในโลก


[76] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้ ไม่พึงมีในโลก
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พึงบังเกิดในโลก ธรรมวินัยที่พระ-
ตถาคตทรงประกาศไว้แล้ว ไม่พึงรุ่งเรื่องในโลก 3 ประการเป็นไฉน
คือ ชาติ 1 ชรา 1 มรณะ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการ
นี้แล ไม่พึงมีในโลก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พึงบังเกิด
ในโลก ธรรมวินัยอันพระตถาคตทรงประกาศไว้แล้วไม่พึงรุ่งเรืองในโลก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรม 3 ประการนี้มีอยู่ในโลก ฉะนั้น พระ-